 |
|
|
 |
 |
|
สวยแล้วครับ หาไอคอนเล็ก ๆ มาประดับก็แจ๋มแล้วครับ!! โย๊ว 
|
 |
 |
 |
 |
Date :
2009-08-26 21:54:43 |
By :
webmaster |
|
 |
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
อ่าครับ ขอบคุณครับ
|
 |
 |
 |
 |
Date :
2009-08-26 22:00:25 |
By :
โค๊กซ่า |
|
 |
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
ยังไงก็ช่วยติชมกันหน่อยนะครับ พอดีอยากให้มันสวยๆน่ะ อิอิ
|
 |
 |
 |
 |
Date :
2009-08-26 23:49:38 |
By :
โค๊กซ่า |
|
 |
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
ดูดีครับ หารูปใส่ซักหน่อยก็จะสวยมากขึ้นครับ
|
 |
 |
 |
 |
Date :
2009-08-27 00:45:09 |
By :
maxmitsu_evo |
|
 |
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
ก็สวยดีนะ
|
 |
 |
 |
 |
Date :
2009-08-27 08:00:03 |
By :
panyapol |
|
 |
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
แถบสีดำข้างบน ผมว่ามันขัดกับความสดใสของ content ด้านล่างนิดหน่อยนะครับ
อย่าลืมดูเรื่องขนาดของเว็บด้วยนะครับ อย่าพยายามให้มี scorbar ด้านล่าง
|
 |
 |
 |
 |
Date :
2009-08-27 11:08:50 |
By :
Sek-Artdrinker |
|
 |
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
การเลือกใช้สีสำหรับ Web Site (Designing Web Color)
สีสันในหน้า WebPage เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็นจาก WebPage ก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกโดยรวมของ Web Site สามารถใช้สีได้กับทุกองค์ประกอบของ WebPage ตั้งแต่ตัวอักษร , รูปภาพ, Link, สีพื้นหลัง หรือรูปภาพพื้นหลัง การเลือกใช้สีอย่างเหมาะสมจะช่วยสื่อความหมายของเนื้อหา และเพิ่มความสวยงามให้กับหน้า Web นั้น แต่ในทางกลับกัน สีที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างความยากลำบากในการอ่านหรือรบกวนสายตาผู้ใช้รวมอาจทำให้การสื่อความหมายไม่ถูกต้องก็ได้
เรื่องของสีใน Web Site มีความซับซ้อนพอสมควร เริ่มตั้งแต่การเข้าใจถึงการแสดงออกของสีภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันของ Browser , จอมอนิเตอร์ และระบบปฏิบัติการ ตลอดจนมีความเข้าใจในทฤษฎีสี รู้จักการเลือกใช้สีที่เหมาะสมเพื่อการสื่อความหมายอย่างสวยงาม ดังนั้น ความหมายของคือการตัดสินใจเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับบุคคลและเป้าหมายของ Web Site เพื่อการแสดงผลที่ตรงกับความประสงค์มากที่สุด การใช้ชุดสีที่เหมาะสม กลมกลืน ไม่เพียงแต่จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ แต่ยังทำให้พวกเขามีความรู้สึกร่วมไปกับเป้าหมายของ Web Site นั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูล สร้างความบันเทิง รวมถึงการขายสินค้าหรือบริการ
ประโยชน์ของสีใน Web Site
สีเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการออกแบบ Web Site เนื่องจากสีสามารถสื่อถึงความรู้สึกและอารมณ์ และช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่กับเวลาอีกด้วย ดังนั้นสีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความหมายขององค์ประกอบให้กับ WebPage ได้เป็นอย่างดี
1. สีสามารถชักนำสายตาผู้อ่านไปยังทุกบริเวณให้หน้า WebPage ผู้อ่านจะมีการเชื่อมโยงความรู้สึกกับบริเวณของสีในรูปแบบที่คาดหวังไว้ได้ การเลือกเฉดสีและตำแหน่งของสีอย่างรอบคอบในหน้า Web สามารถนำทางให้ผู้อ่านติดตามเนื้อหาบริเวณต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ได้ วิธีนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องการให้ผู้อ่านให้ความสนใจกับส่วนใดส่วนหนึ่งใน Web Site เป็นพิเศษ เช่น ข้อมูลใหม่ โปรโมชั่นพิเศษ หรือบริเวณที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจมาก่อน
2. สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน ผู้อ่านจะมีความรู้สึกว่าบริเวณที่มีสีเดียวกันจะมีความสำคัญเท่ากัน วิธีการเชื่อมโยงแบบนี้ช่วยจัดกลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์อย่างไม่เด่นชัดเข้าด้วยกันได้
3. สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน ทำนองเดียวกับการเชื่อมโยงบริเวณที่มีสีเหมือนกันเข้าด้วยกัน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการแบ่งแยกบริเวณที่มีสีต่างกันออกจากกัน
4. สีสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน สายตาของผู้อ่านมักจะมองไปที่สีที่มีลักษณะเด่นหรือผิดปกติเสมอ การออกแบบ Web Site ด้วยการเลือกใช้สีอย่างรอบคอบ ไม่เพียงแต่กระตุ้นความสนใจของผู้อ่านเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยหน่วงเหนี่ยวให้พวกเขาอยู่ใน Web Site ได้นานยิ่งขึ้น ส่วน Web Site ที่ใช้สีไม่เหมาะสม เสมือนเป็นการขับไล่ผู้ชมไปสู่ Web อื่นที่มีการออกแบบที่ดีกว่า
5. สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของ WebPage และกระตุ้นความรู้สึกตอบสนองจากผู้ชมได้ นอกเหนือจากความรู้สึกที่ได้รับจากสีตามหลักจิตวิทยาแล้ว ผู้ชมยังอาจมีอารมณ์และความรู้สึกสัมพันธ์กับสีบางสีหรือบางกลุ่มเป็นพิเศษ
6. สีสามารถช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่นการใช้สีแยกส่วนระหว่างหัวเรื่องกับตัวเรื่อง หรือการสร้างความแตกต่างให้กับข้อความบางส่วน โดยที่ใช้สีแดงสำหรับคำเตือน หรือใช้สีเทาสำหรับสิ่งที่เป็นทางเลือก
7. นอกเหนือจากการใช้สีในการออกแบบแล้ว สียังสามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงาน ๆ นั้นได้ ด้วยการใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรมาเป็นโทนสีหลักของ Web Site
การออกแบบเกี่ยวกับสีไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าจะมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยในการสร้างชุดสี ที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีแนวทางและความเข้าใจผิดจำนวนมากที่จะนำไปสู่การสร้างชุดสีที่ให้ความรู้สึกไม่เหมาะสม ในบางสถานการณ์อาจใช้สีเป็นเพียงเครื่องประดับอย่างหนึ่งในการออกแบบ แต่ในทางตรงกันข้าม การใช้สีที่มากเกินไปอาจทำให้ไปบดบังองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้า WebPage ได้ ดังนั้นการเลือกใช้สีให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ แม้ว่าการเลือกชุดของสีมามาใช้ใน WebPage ค่อนข้างจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน อย่างน้อยควรมีความเข้าใจถึงหลักการใช้สีเบื้องต้น ที่จะช่วยในการเลือกใช้สีชุดใดชุดหนึ่งจากชุดสีพื้นฐานอื่น ๆ ได้ อย่างเหมาะสมกับลักษณะของ Web Site อย่างไรก็ตามทฤษฎีเหล่านี้จะไม่ทำให้สามารถเลือกชุดสีได้ในทันทีทันใด แต่อย่างน้อยก็จะช่วยนำไปในทิศทางที่ถูกต้องได้
รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple Color Schemes)
1. ชุดสีร้อน (Warm Color Schemes)
ชุดสีร้อนประกอบด้วยสีม่วงแกมแดง , แดง, ส้ม เหลือง และเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้สร้างความรู้สึกอบอุ่นสบายและความรู้สึกต้อนรับแก่ผู้ชม ช่วยดึงดูดความสนใจได้ง่าย ในทางจิตวิทยาสีร้อนมีความสัมพันธ์กับความสุข สะดวกสบาย สีต่าง ๆ ในชุดสีร้อนมีความกลมกลืนอยู่ในตัวเองขณะที่อาจดูไม่น่าสนใจบ้าง เพราะขาดสีประกอบที่ตัดกันอย่างชัดเจน
2. ชุดสีเย็น (Cool Color Scheme)
ชุดสีเย็นประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน, น้ำเงินอ่อน, ฟ้า, น้ำเงินแกมเขียว และสีเขียว ตรงกันข้ามกับชุดสีร้อน ชุดสีเย็นจะให้ความรู้สึกสบาย องค์ประกอบที่ใช้ชุดสีเย็นเหล่านี้จะดูสุภาพเรียบร้อย และมีความชำนาญแต่ในทางจิตวิทยา สีเย็นเหล่านี้กลับมีความสัมพันธ์กับความซึมเศร้าหดหู่เสียใจ นอกจากนั้น ชุดสีเย็นมีความกลมกลืนโดยธรรมชาติ แต่อาจจะดูไม่น่าสนใจในบางครั้งเพราะขาดความแตกต่างของสีที่เด่นชัด เช่นเดียวกับชุดสีร้อน
3. ชุดสีแบบสีเดียว (Monochromatic Color Scheme)
รูปแบบของชุดสีที่ง่ายที่สุดก็คือชุดสีแบบสีเดียวที่มีค่าสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว ความหลากหลายของชุดสีนี้เกิดจากการเพิ่มความเข้มหรือความอ่อนในระดับต่าง ๆ ให้กับสีตั้งต้น ดังนั้น ชุดสีแบบเดียวกับสีแดงอาจประกอบด้วยสีแดงล้วน , สีแดงอิฐ, สีสตรอเบอรี่, สีชมพู ชุดสีแบบนี้ค่อนข้างมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีประสิทธิภาพในการสร้างอารมณ์โดยรวมด้วยการใช้สีเพียงสีเดียว แต่ในบางครั้งรูปแบบที่มีสีเดียวนี้อาจดูไม่มีชีวิตชีวา เพราะขาดความหลากหลายของสี ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านขาดความสนใจ
4. ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic Color Scheme)
วิธีการง่าย ๆ อีกแบบหนึ่งในการเลือกชุดสีมาใช้ก็คือ การนึกถึงสามเหลี่ยมด้านเท่าลอยอยู่เหนือวงล้อสี เช่น แดง, เขียว, น้ำเงิน จะเห็นว่าสีทั้งสามสีนี้มีการตัดกันอย่างรุนแรง แต่สามารถสร้างความสะดุดตาได้เป็นอย่างมาก มีชีวิตชีวา เป็นประโยชน์ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ชัดเจน แน่นอน แต่ในบางครั้งความสดใสดังกล่าวอาจมีลักษณะฉูดฉาดจนเกินไปจนรบกวนการสื่อความหมายที่แท้จริงได้
5. ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous Color Scheme)
ชุดสีที่มีรูปแบบง่ายอีกแบหนึ่ง ก็คือชุดสีที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี เช่น แดงแกมม่วง, สีแดง และสีส้ม เนื่องจากชุดสีที่มีอยู่ในรูปแบบนี้มีจำนวนมากมายทำให้สามารถเลือกชุดสีแบบนี้มาใช้งานได้อย่างสะดวก และแม้สามารถเพิ่มจำนวนสีในชุดให้เพิ่มขึ้นเป็น 4-5 สีได้ แต่กลับมีผลทำให้ขอบเขตของสีมีความกว้างเกินไป ทำให้สีที่อยู่ตรงปลายทั้งสองของชุดไม่มีความสัมพันธ์กัน เป็นสาเหตุที่ทำให้ลักษณะการมีสีคล้ายคลึงกันลดลง
ไว้เป็นแนวทางนะครับ
|
 |
 |
 |
 |
Date :
2009-08-27 11:15:58 |
By :
Sek-Artdrinker |
|
 |
 |
 |
 |
|
|
 |
 |
|
 |
 |
|