Register Register Member Login Member Login Member Login Forgot Password ??
PHP , ASP , ASP.NET, VB.NET, C#, Java , jQuery , Android , iOS , Windows Phone
 

Registered : 109,027

HOME > บทความจากสมาชิก > php - หลักการสร้างรายงานยอดที่พนักงานทำได้ในแต่ละเดือน แบบลดจำนวนการคิวรี่ โดยการพักค่าไว้ในอาร์เรย์ก่อนนำมาแสดงผล



 
Clound SSD Virtual Server

php - หลักการสร้างรายงานยอดที่พนักงานทำได้ในแต่ละเดือน แบบลดจำนวนการคิวรี่ โดยการพักค่าไว้ในอาร์เรย์ก่อนนำมาแสดงผล

php - หลักการสร้างรายงานยอดที่พนักงานทำได้ในแต่ละเดือน แบบลดจำนวนการคิวรี่ โดยการพักค่าไว้ในอาร์เรย์ก่อนนำมาแสดงผล หลักจากที่ได้ลองจับลองเล่น CodeIgniter ก็เริ่มติดใจตัวช่วยด้านการติดต่อฐานข้อมูล (Database Class) ในส่วนของการคิวรี่ข้อมูลด้วยคลาสที่มีมาให้ (Generating Query Results) จนทำให้ลืมคำสั่ง PHP ไปพักหนึ่ง ^__^ ก็เริ่มมองเห็นรูปแบบการใช้งานอาร์เรย์ให้เกิดประโยชน์มาแนะนำ ให้ลองประยุกต์ใช้กันดูว่าจะช่วยให้ลดภาระให้เซิร์ฟเวอร์ (หรือเพิ่มภาระหนักกว่าเดิม) ได้จริงหรือไม่


เมื่อเราเรียก $this->db->query("YOUR QUERY"); เพียงบรรทัดเดียว เราก็จะได้ข้อมูลทั้งหมดตามเงื่อนไข SQL ที่กำหนดไว้ เห็นมั้ยล่ะว่ามันง่ายขนาดไหน ข้อมูลที่ได้ก็จะถูกส่งกลับมาเก็บไว้ในรูปแบบอาร์เรย์

และเมื่อจะนำอาร์เรย์ที่ได้มาใช้งานก็จะใช้คำสั่ง foreach()

      foreach ($query->result_array() as $row)
      {
          echo $row['title'];
          echo $row['name'];
          echo $row['body'];
      }


พอทำงานกับอาร์เรย์บ่อยๆ เลยเริ่มมีแนวคิดในการลดการคิวรี่ในลูป ที่ทำให้การทำงานช้าอย่างมาก โดยเฉพาะหน้ารายงานที่บางครั้งคิวรี่ครั้งหนึ่งต้องคำนวณหลายร้อยเรคอร์ด ส
สำหรับคำว่าการคิวรี่ภายในลูปในความหมายของผมนั้นเป็นยังไงลองทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันที่




มาเข้าเรื่อง การเขียนโค๊ด PHP เพื่อทำรายงานประจำเดือนกันเลยครับ

1. การเขียนแบบตามลำดับขั้น แบบเดิมที่ผมเคยใช้
- วนลูปดึงข้อมูลรายชื่อพนักงานทั้งหมด จากตารางที่เก็บข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมด
- สร้างคอลัมน์ แสดงชื่อ และ วันที่ ตามจำนวนวันของเดือนนั้นๆ
- วนลูปดึงข้อมูลของพนักงานทีละคน โดยเริ่มจากวันที่ 1 ถึง วันที่สุดท้ายของเดือน
- แสดงจำนวนยอดที่พนักงานได้ ลงในแต่ละคอลัมน์ ตามวันที่นั้นๆ


2. การเขียนแบบพักข้อมูลไว้ในตัวแปรอาร์เรย์ แบบใหม่ที่อยากจะแนะนำ)
- วนลูปดึงข้อมูลรายชื่อพนักงานขายทั้งหมด
- สร้างคอลัมน์วันที่ ตามจำนวนวันของเดือนนั้นๆ
- เก็บข้อมูลยอดจองของพนักงานแต่ละคน ในแต่ละวัน ไว้ในอาร์เรย์
- วนลูปข้อมูลในอารเรย์ออกมาแสดงในรูปแบบตาราง


มาดูซอร์สโค๊ดตัวอย่างกัน Code (PHP)
<html>
<head>
<title>รายงานประจำเดือน</title>
<meta http-equiv='Content-Type' content='text/html; charset=utf-8'>
<style>
.number{ text-align : right;}
.number div{ 
    background: #91F7A4; 
    color : #ff0000;
}

#test_report th{ background-color : #21BBD6; color : #ffffff;}

#test_report{
    border-right : 1px solid #eeeeee;
    border-bottom : 1px solid #eeeeee;
}

#test_report td,#test_report th{
    border-top : 1px solid #eeeeee;
    border-left : 1px solid #eeeeee;
    padding : 2px;
}

#txt_year{ width : 70px;}

.fail{ color : red;}

</style>
</head>
<body>
<form method="POST" action="<?php echo $_SERVER['PHP_SELF'];?>">

    <table>

        <tr>

            <td>ระบุเดือน-ปี : </td>

            <td>

                <select name="txt_month">

                    <option value="">--------------</option>

                    <?php

                    $month = array('01' => 'มกราคม', '02' => 'กุมภาพันธ์', '03' => 'มีนาคม', '04' => 'เมษายน', 

                                    '05' => 'พฤษภาคม', '06' => 'มิถุนายน', '07' => 'กรกฎาคม', '08' => 'สิงหาคม', 

                                    '09' => 'กันยายน ', '10' => 'ตุลาคม', '11' => 'พฤศจิกายน', '12' => 'ธันวาคม');

                    $txtMonth = isset($_POST['txt_month']) && $_POST['txt_month'] != '' ? $_POST['txt_month'] : date('m');

                    foreach($month as $i=>$mName) {

                        $selected = '';

                        if($txtMonth == $i) $selected = 'selected="selected"';

                        echo '<option value="'.$i.'" '.$selected.'>'. $mName .'</option>'."\n";

                    }

                    ?>

                </select>

            </td>

            <td>

                <select name="txt_year">

                    <option value="">--------------</option>

                    <?php

                    $txtYear = (isset($_POST['txt_year']) && $_POST['txt_year'] != '') ? $_POST['txt_year'] : date('Y');


                    $yearStart = date('Y');

                    $yearEnd = $txtYear-5;


                    for($year=$yearStart;$year > $yearEnd;$year--){

                        $selected = '';

                        if($txtYear == $year) $selected = 'selected="selected"';

                        echo '<option value="'.$year.'" '.$selected.'>'. ($year+543) .'</option>'."\n";

                    }

                    ?>

                </select>

            </td>

            <td><input type="submit" value="ค้นหา" /></td>

        </tr>

    </table>

</form>

<?php


//รับค่าตัวแปรที่ส่งมาจากแบบฟอร์ม HTML

$year = isset($_POST['txt_year']) ? mysql_real_escape_string($_POST['txt_year']) : '';
$month = isset($_POST['txt_month']) ? mysql_real_escape_string($_POST['txt_month']) : '';

if($year == '' || $month == '') exit('<p class="fail">กรุณาระบุ "เดือน-ปี" ที่ต้องการเรียกรายงาน</p>');


//เปิดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล sunzandesign
mysql_connect("localhost","root","abcd1234");  //ข้อมูลนี้ได้มาจากตอนติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์
mysql_select_db("sunzandesign");
mysql_query("SET NAMES UTF8");

//ดึงข้อมูลพนักงานทั้งหมด

$allEmpData = array();
$strSQL = "SELECT user_code,user_fullname FROM `tb_user` ";
$qry = mysql_query($strSQL) or die('ไม่สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลได้ Error : '. mysql_error());
while($row = mysql_fetch_assoc($qry)){
    $allEmpData[$row['user_code']] = $row['user_fullname'];
}


//เรียกข้อมูลการจองของเดือนที่ต้องการ 

$allReportData = array();
$strSQL = "SELECT bk_user_code, DAY(`bk_date`) AS bk_day, COUNT(*) AS numBook FROM `tb_report_booking` ";
$strSQL.= "WHERE `bk_date` LIKE '$year-$month%' ";
$strSQL.= "GROUP by bk_user_code,DAY(`bk_date`)";
$qry = mysql_query($strSQL) or die('ไม่สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลได้ Error : '. mysql_error());
while($row = mysql_fetch_assoc($qry)){
    $allReportData[$row['bk_user_code']][$row['bk_day']] = $row['numBook'];
}


echo "<table border='0' id='test_report' cellpadding='0' cellspacing='0'>";
echo '<tr>';//เปิดแถวใหม่ ตาราง HTML
echo '<th>รายชื่อพนักงาน</th>';

//วันที่สุดท้ายของเดือน

$timeDate = strtotime($year.'-'.$month."-01");  //เปลี่ยนวันที่เป็น timestamp
$lastDay = date("t", $timeDate);                //จำนวนวันของเดือน


//สร้างหัวตารางตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่สุดท้ายของดือน

for($day=1;$day<=$lastDay;$day++){
    echo '<th>' . substr("0".$day, -2) . '</th>';
}

echo "</tr>";

foreach($allEmpData as $empCode=>$empName){

    echo '<tr>';//เปิดแถวใหม่ ตาราง HTML
    echo '<td>'. $empName .'</td>';

    //เรียกข้อมูลการจองของพนักงานแต่ละคน ในเดือนนี้

    for($j=1;$j<=$lastDay;$j++){

        $numBook = isset($allReportData[$empCode][$j]) ? '<div>'.$allReportData[$empCode][$j].'</div>' : 0;

        echo "<td class='number'>", $numBook, "</td>";

    }

   echo '</tr>';//ปิดแถวตาราง HTML

}
echo "</table>";
mysql_close();//ปิดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
?>


วิเคราะห์โค๊ดแบบที่ 2
- การคิวรี่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
- ข้อมูลทั้งหมดเก็บไว้ใน $allReportData
- และเรียกใช้งานในลูปโดยเทียบว่ามีข้อมูลตามคีย์ที่เป็นวันที่ตรงกันหรือไม่

เพิ่มเติม
- หากตารางอื่นๆ ที่จำเป็นต้องนำข้อมูลมาแสดงนั้น จะมีจำนวนเรคอร์ดที่เท่ากันเสมอ ให้ใช้คำสั่ง SQL INNER JOIN มาช่วยแทนครับ ไม่ต้องใช้วิธีนี้ เพราะ INNER JOIN ทำงานเร็วอยู่แล้ว
- หากข้อมูลตารางอื่นๆที่ต้องเอามาแสดงมีจำนวนน้อยกว่า หรือขาดบางรายการ ไม่ควรใช้ INNER JOIN ครับเพราะยอดจะขาดหายไปตามจำนวนเรคอร์ดที่ไม่สามารถ JOIN กันได้
- หากเมื่อใดที่ใช้ LEFT JOIN แล้วแสดงผลช้ามากๆ และตารางที่ JOIN มีข้อมูลคงที่ หรือไม่มากเกินไป แนะนำให้ใช้วิธีแยกคิวรี่เก็บไว้ในอาร์เรย์แทนครับ

สรุป
แนวคิดนี้ ยังไม่สามารถยืนยันอย่างเป็นทางการได้ว่า ช่วยทำให้คิวรี่ได้เร็วและประหยัดทรัพยากรได้เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้องวิเคราะห์เป็นกรณีไป ว่าตารางอื่นๆที่ต้องดึงข้อมูลมาแสดงนั้นมีข้อมูลมากเพียงใด หรือคงที่พอที่จะดึงมาเก็บไว้ในอาร์เรย์โดยไม่เปลืองหน่วยคำจำเกินไปหรือไม่

แต่เหนือสิ่งอื่นใด รายงานที่ผมเคยนั่งรอนานหลายวินาทีเพราะใช้ LEFT JOIN (ที่ทำ INDEX ฟิลด์ที่ใช้ WHERE ไปแล้ว) เครื่องสเปกต่ำๆ แทบจะค้าง กลับทำงานได้เร็วขึ้นในไม่ถึง 10 วินาที


Reference : http://sunzandesign.blogspot.com/2013/06/php.html





   
Share
Bookmark.   

  By : To Be Developer
  Article : บทความเป็นการเขียนโดยสมาชิก หากมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งให้ทาง webmaster ทราบด้วยครับ
  Score Rating :
  Create Date : 2013-07-18
  Download : No files
Sponsored Links
ThaiCreate.Com Forum


Comunity Forum Free Web Script
Jobs Freelance Free Uploads
Free Web Hosting Free Tools

สอน PHP ผ่าน Youtube ฟรี
สอน Android การเขียนโปรแกรม Android
สอน Windows Phone การเขียนโปรแกรม Windows Phone 7 และ 8
สอน iOS การเขียนโปรแกรม iPhone, iPad
สอน Java การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน Java GUI การเขียนโปรแกรม ภาษา Java GUI
สอน JSP การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน jQuery การเขียนโปรแกรม ภาษา jQuery
สอน .Net การเขียนโปรแกรม ภาษา .Net
Free Tutorial
สอน Google Maps Api
สอน Windows Service
สอน Entity Framework
สอน Android
สอน Java เขียน Java
Java GUI Swing
สอน JSP (Web App)
iOS (iPhone,iPad)
Windows Phone
Windows Azure
Windows Store
Laravel Framework
Yii PHP Framework
สอน jQuery
สอน jQuery กับ Ajax
สอน PHP OOP (Vdo)
Ajax Tutorials
SQL Tutorials
สอน SQL (Part 2)
JavaScript Tutorial
Javascript Tips
VBScript Tutorial
VBScript Validation
Microsoft Access
MySQL Tutorials
-- Stored Procedure
MariaDB Database
SQL Server Tutorial
SQL Server 2005
SQL Server 2008
SQL Server 2012
-- Stored Procedure
Oracle Database
-- Stored Procedure
SVN (Subversion)
แนวทางการทำ SEO
ปรับแต่งเว็บให้โหลดเร็ว


Hit Link
   







Load balance : Server 00
ThaiCreate.Com Logo
© www.ThaiCreate.Com. 2003-2024 All Rights Reserved.
ไทยครีเอทบริการ จัดทำดูแลแก้ไข Web Application ทุกรูปแบบ (PHP, .Net Application, VB.Net, C#)
[Conditions Privacy Statement] ติดต่อโฆษณา 081-987-6107 อัตราราคา คลิกที่นี่