Register Register Member Login Member Login Member Login Forgot Password ??
PHP , ASP , ASP.NET, VB.NET, C#, Java , jQuery , Android , iOS , Windows Phone
 

Registered : 109,027

HOME > บทความจากสมาชิก > การใช้ตัวแปรในสตริง (String Interpolation)



 
Clound SSD Virtual Server

การใช้ตัวแปรในสตริง (String Interpolation)



ติดตามบทความล่าสุดของผู้เขียนได้ที่ phpinfo() Facebook Page




การใช้ตัวแปรในสตริง (String Interpolation)
บทความนี้เขียนขึ้นจากการสังเกตเห็นสมาชิกในไทยครีเอทหลายๆ คนนิยมและบอกต่อให้ใช้การเชื่อมต่อสตริง แทนที่จะใช้ตัวแปรในสตริง ทั้งๆ ที่ความสามารถนี้เป็นอะไรที่ทำให้ PHP (หรือภาษาอื่นที่มีความสามารถนี้เช่น Perl และ Ruby) มีจุดเด่น

บ่อยครั้งที่ผมเห็นหลายๆ คนนิยมเขียนโค้ดลักษณะนี้


$sql = "SELECT * FROM table"; $sql .= "WHERE id = '" . $id . "'";

ซึ่งก็มาจากการแนะนำบอกต่อกันมาว่าแบบนี้ดี ทำให้อ่านง่าย เห็นชัด
อันนี้ผมไม่เถียงครับ แต่ผลที่ตามมาในหลายๆ กระทู้ที่ผมสังเกต
วิธีเขียนแบบนี้นี่แหละที่ทำให้มือใหม่หลายๆ คนออกมาตั้งกระทู้ถามว่า "ฉันเขียนผิดตรงไหน"
เพราะการเขียนแบบเชื่อมต่อสตริง ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย หากไม่ใช่คนที่คุ้นเคยกับ PHP
หรือช่างสังเกต อาจจะไม่รู้เลยว่าผิดตรงไหน อะไรยังไง


เช่น
$sql = "UPDATE table SET name = '" . $name . "', color = '" . $color . "'"; $sql .= "type = '" . $type . "' WHERE id = '" . $id . "'";

ลองหาที่ผิดดูครับ




วิธีที่เรียบง่ายกว่า แต่ไม่นิยมใช้กันเพราะ "ความเชื่อ"

เคยเป็นที่ถกเถียงกันในเว็บนักพัฒนาต่างประเทศว่าการเชื่อมต่อสตริงนั้น "ทำงานได้เร็วกว่า" การใช้ตัวแปรในสตริง
แต่หลังจากนั้นก็มีการทดสอบจนได้ผลว่า การเชื่อมต่อสตริงทำงานเร็วกว่าในกรณีที่ "มีการเชื่อมต่อแค่ครั้งเดียว"
แต่ถ้ามีมากกว่านั้นการใช้ตัวแปรในสตริงจะทำงานได้เร็วกว่า


$a = "Hello World $str"; $b = "Hello World " . $str; // เร็วกว่า $a = "Hello World $str !!!"; $b = "Hello World " . $str . " !!!"; // แต่แบบนี้ไม่

และยิ่งไปกว่านั้น หากมีตัวแปรมากขึ้นเท่าไหร่ ความเร็วการทำงานก็จะต่างกันมากขึ้นเท่านั้น

$sql = "UPDATE table SET name = '" . $name . "', color = '" . $color . "'"; $sql .= ", type = '" . $type . "' WHERE id = '" . $id . "'"; $fastSQL = "UPDATE table SET name = '$name', color = '$color', type = '$type' WHERE id = '$id'"; // แบบนี้เร็วกว่ามาก

และความเชื่ออีกอย่างคือ คิดว่าการเชื่อมต่อสตริงทำให้อ่านง่ายกว่า
ลองมาดูกันชัดๆ ครับ

การเชื่อมต่อสตริง
$sql = "INSERT INTO table"; $sql .= "(first_name, last_name, username, password)"; $sql .= "VALUES ('" . $first_name . "','" . $last_name . "'" $sql .= ",'" . $username . "','" . $password . "')";

การใช้ตัวแปรในสตริง
$sql = " INSERT INTO table (first_name, last_name, username, password) VALUES ('$first_name','$last_name','$username','$password') ";

สำหรับคนอื่นผมไม่รู้ แต่สำหรับผมเองแล้ว แบบหลังอ่านและเขียนง่ายกว่าเยอะ (ทำงานได้เร็วกว่ามากด้วย)




อีกเหตุผลที่ไม่นิยมใช้ตัวแปรในสตริง อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจรูปแบบการใช้

อีกเหตุผลที่ผมเดาเอาคือ เพราะไม่เข้าใจการใช้งานที่ถูกต้อง เลยต้องเปลี่ยนไปใช้การเชื่อมต่อสตริง

ผมเชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยมีปัญหาแบบนี้

echo "Test $item[0]['name']";

แล้วแสดงผลไม่ได้ตามต้องการ อาจจะแสดงผลเป็นคำว่า Array['name'] แล้วไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น

หรือ

echo "Test $item['name']";


แล้วเกิด Error
Parse error: syntax error, unexpected T_ENCAPSED_AND_WHITESPACE


ทั้งๆ ที่ echo "Test " . $item['name']; กลับใช้ได้ จึงทำให้เปลี่ยนไปใช้การเชื่อมต่อสตริง เพราะกลัวจะเกิด error อีก

และทำให้เกิดรูปแบบการเขียนโปรแกรม PHP ที่ไม่ดีขึ้นมาอีก 1 อย่างคือ
การนิยมย้ายค่าตัวแปรจาก array ให้เป็นตัวแปรเดี่ยวๆ ก่อนนำไปใช้งาน
โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงค่าของมัน (เช่น escape หรือคำนวณเป็นค่าอื่น)
ใช้การเขียนแบบนี้เพียงเพื่อให้ใช้ในสตริงได้ง่ายๆ


$id = $_POST['id']; $name = $_POST['name']; $address = $_POST['address']; $sql = "INSERT INTO users VALUES ('$id', '$name', '$address')";

ซึ่งเป็นวิธีการเขียนที่สิ้นเปลืองทั้งเวลา และทรัพยากร (มีตัวแปรในหน่วยความจำเยอะแยะไปหมด)
ทั้งๆ ที่ควรเขียนแบบนี้


$sql = "INSERT INTO users VALUES ('$_POST[id]', '$_POST[name]', '$_POST[address]')";





มาทำความเข้าใจรูปแบบโดยละเอียดกัน

การใช้ตัวแปรในสตริง (String Interpolation) ในภาษา PHP นั้น
จะเป็นการใช้สัญลักษณ์ $ ในสตริงแบบ Double Quote หรือ HereDoc


$a = 123; $b = 456; $c = 789; echo "a = $a, b = $b, c = $c\n"; echo <<<DOC a = $a b = $b c = $c DOC;


แบบที่ 1 ใช้ชื่อตัวแปรตรงๆ
$a = 555; echo "a is $a.";


แบบที่ 2 เข้าถึงสมาชิกใน array 1 มิติ โดยใช้ index
$a = array(123, 456, 789); echo "สมาชิกตัวแรกของ a คือ $a[0] ตัวที่ 2 คือ $a[1] และสุดท้ายคือ $a[2]";


และต้องเป็นตัวเลขจำนวนเต็มเท่านั้น เป็นจุดทศนิยมไม่ได้ เพราะจะเกิด Error

$a = array(123, 456, 789); echo "สมาชิกตัวแรกของ a คือ $a[0] ตัวที่ 2 คือ $a[1.0] และสุดท้ายคือ $a[2.0]"; // Parse error: syntax error, unexpected '.'


แบบที่ 3 เข้าถึงสมาชิกใน array 1 มิติ โดยใช้ key
รูปแบบคือ $array[key]

$ages = array('david' => 45, 'sally' => 20, 'john' => 31); echo "David is $ages[david] years old\n"; echo "Sally is $ages[sally] years old\n"; echo "John is $ages[john] years old\n";

โดย key นั้นต้องไม่มี ' ล้อมรอบ และไม่มีช่องว่างหรือเครื่องหมายอื่นๆ นอกจากตัวอักษร

$stages = array('Level 1' => 'Forest'); echo "Welcome to stage 1 $stages[Level 1] !!!"; // Parse error: syntax error, unexpected T_ENCAPSED_AND_WHITESPACE


แบบที่ 4 เข้าถึงสมาชิกใน array หลายมิติ หรือเข้าถึงสมาชิกที่ key มีช่องว่างและตัวอักษรพิเศษ

รูปแบบคือ {$array['key1']['key2']}

สังเกตดูนะครับ เมื่อไหร่ที่เราใช้รูปแบบนี้ เราต้องล้อมรอบ key ที่เป็นสตริงด้วย ' (แต่ index ไม่ต้อง)


$users = array( array( 'name' => 'Jack', 'MAC address' => '01:23:45:67:89:AB', ), array( 'name' => 'Mike', 'MAC address' => '51:47:DF:EE:4C:13', ), ); echo "User 1: {$users[0]['name']} - {$users[0]['MAC address']}\n"; echo "User 2: {$users[1]['name']} - {$users[1]['MAC address']}\n";

สำหรับการเข้าถึงตัวแปรในสตริงในแบบนี้ มันก็เหมือนกับการเชื่อมต่อสตริงนั่นแหละครับ เพียงแต่เขียนสั้นและอ่านง่ายกว่ามาก

ลองเปรียบเทียบดู

$users = array( array( 'name' => 'Jack', 'MAC address' => '01:23:45:67:89:AB', ), array( 'name' => 'Mike', 'MAC address' => '51:47:DF:EE:4C:13', ), ); // แบบเชื่อมต่อสตริง echo "User 2: " . $users[0.5 + 0.5]['name'] . " - " . $users[floor(0.3)]['MAC' . ' address'] . "\n"; // แบบนี้ไม่ต้องเปิดปิดสตริงให้เสียเวลา ลดความความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดด้วย echo "User 2: {$users[0.5 + 0.5]['name']} - {$users[floor(0.3)]['MAC' . ' address']}\n";





บทความที่เกี่ยวข้อง





ศึกษาเพิ่มเติม




ติดตามบทความล่าสุดของผู้เขียนได้ที่ phpinfo() Facebook Page







   
Share
Bookmark.   

  By : phpinfo()
  Article : บทความเป็นการเขียนโดยสมาชิก หากมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งให้ทาง webmaster ทราบด้วยครับ
  Score Rating :
  Create Date : 2013-02-08
  Download : No files
Sponsored Links
ThaiCreate.Com Forum


Comunity Forum Free Web Script
Jobs Freelance Free Uploads
Free Web Hosting Free Tools

สอน PHP ผ่าน Youtube ฟรี
สอน Android การเขียนโปรแกรม Android
สอน Windows Phone การเขียนโปรแกรม Windows Phone 7 และ 8
สอน iOS การเขียนโปรแกรม iPhone, iPad
สอน Java การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน Java GUI การเขียนโปรแกรม ภาษา Java GUI
สอน JSP การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน jQuery การเขียนโปรแกรม ภาษา jQuery
สอน .Net การเขียนโปรแกรม ภาษา .Net
Free Tutorial
สอน Google Maps Api
สอน Windows Service
สอน Entity Framework
สอน Android
สอน Java เขียน Java
Java GUI Swing
สอน JSP (Web App)
iOS (iPhone,iPad)
Windows Phone
Windows Azure
Windows Store
Laravel Framework
Yii PHP Framework
สอน jQuery
สอน jQuery กับ Ajax
สอน PHP OOP (Vdo)
Ajax Tutorials
SQL Tutorials
สอน SQL (Part 2)
JavaScript Tutorial
Javascript Tips
VBScript Tutorial
VBScript Validation
Microsoft Access
MySQL Tutorials
-- Stored Procedure
MariaDB Database
SQL Server Tutorial
SQL Server 2005
SQL Server 2008
SQL Server 2012
-- Stored Procedure
Oracle Database
-- Stored Procedure
SVN (Subversion)
แนวทางการทำ SEO
ปรับแต่งเว็บให้โหลดเร็ว


Hit Link
   







Load balance : Server 05
ThaiCreate.Com Logo
© www.ThaiCreate.Com. 2003-2024 All Rights Reserved.
ไทยครีเอทบริการ จัดทำดูแลแก้ไข Web Application ทุกรูปแบบ (PHP, .Net Application, VB.Net, C#)
[Conditions Privacy Statement] ติดต่อโฆษณา 081-987-6107 อัตราราคา คลิกที่นี่