Register Register Member Login Member Login Member Login Forgot Password ??
PHP , ASP , ASP.NET, VB.NET, C#, Java , jQuery , Android , iOS , Windows Phone
 

Registered : 109,027

HOME > บทความจากสมาชิก > การ Join บน SQL และการใช้ Sub Query เพื่อพัฒนา Skill การเขียน Query ขั้นเทพ!!!



 
Clound SSD Virtual Server

การ Join บน SQL และการใช้ Sub Query เพื่อพัฒนา Skill การเขียน Query ขั้นเทพ!!!

การ Join บน SQL และการใช้ Sub Query เพื่อพัฒนา Skill การเขียน Query ขั้นเทพ!!! แอดมินเองเป็นคนหนึ่งในช่วงของการเริ่มเขียนโปรแกรมแรกๆ จะไม่ชอบการเขียน Query เลย จะอาศัยให้คนอื่นเขียนแทน แต่นั่นบอกได้เลยว่าเป็นการกระทำที่ผิด!!! อย่างยิ่ง เพราะมันเป็นการปิดกั้นตัวเองที่จะพัฒนา Skill ทางด้านการเขียน Query ให้เก่งๆ (ปัจจุบันก็ยังเขียนไม่เก่ง แต่พอเขียนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น) ในคำสั่งของการเขียน Query บน Database ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MySQL, SQL Server, Oracle, DB2 จะมีการใช้ Syntax และรูปแบบที่คล้ายๆ กัน ถ้าโปรแกรมเมอร์ที่เก่งๆ จะสามารถเขียน Query ได้ดี โค้ดสั้นและทำงานได้เร็ว ซึ่งคำสั่งที่เราจะพบเจอกันบ่อยๆ ในกรณีที่ Query หรือ Result นั้นมีความซับซ้อนมากๆ ก็คือ Sub Query มันเป็นวิธีการเอา Query แรกที่ได้นั้นไปใช้งานต่อใน Query อื่นๆ โดยอาจจะนำ Result ของ Query แรก ไป Join กับ Query อื่นๆ เพื่อให้ได้ Result สุดท้ายที่ต้องการ


0

SQL Join and Sub Query



สำหรับวิธีการใช้ Sub Query นั้นมีรูปแบบการเขียนได้หลายประเภท เช่นการ ใช้ Sub Query แบบ Sub Select ด้วยการ WHERE IN หรือว่าการใช้ = Sub Query ซึ่งสามารถ Apply ประยุกต์การใช้งานได้หลากหลายรุปแบบ ส่วนวิธีไหนเร็วกว่ากว่ากันนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า ตอนที่ Query หรือ Join กันนั้นมีการภูก Key หรือ Index ครบถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ขนาดของ Database , Rows, CPU, RAM ก็ล้วนมีผลกับ Query ทั้งสิ้น

แม้ว่าการใช้ Sub Query จะมีข้อเสียเยอะ เพราะก็เหมือนว่า Query ทำงานหลายๆ ครั้ง แต่เมื่อ Result ที่อยากได้ในบางครั้งซับซ้อนเกินกว่าจะใช้การ JOIN ด้วย Query ในครั้งเดียว ดังนั้นการใช้ Sub Query จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นเรื่องปกติสำหรับการเขียน Query

Syntax
SELECT t1.*,t2.* FROM table1 t1
  INNER JOIN (SELECT * FROM table2) t2

จากรูปแบบของ Syntax จะเห็ว่า Query แรกจาก table2 ถูกนำไป Query อีกครั้งแล้ว Join กับ table1

ในตัวอย่างนี้จะยกตัวอย่างการเขียน Sub Select แบบง่าย ๆ (เพื่อให้เข้าใจวิธีการเขียน ซึ่งในกรณีที่ใช้งานจริง อาจจะใช้การ Join โดยไม่ต้องใช้ Sub Query เลยก็ได้ แต่ตัวอย่างนี้ย้ำว่าเพื่อให้เข้าใจรูปแบบการเขียนเท่านั้น)

รูปแบบการใช้งาน Sub Query

การใช้ Sub Query แบบ WHERE IN
SELECT column
FROM table1
WHERE column IN (SELECT column
                   FROM table2 
                  WHERE condition)

การใช้ Sub Query เพื่อ Select ค่า
SELECT column = (SELECT column FROM table2 WHERE condition), column2, ....
  FROM table1
 WEHRE condition

การอัพเดดแบบ Sub Query ด้วยการ Select ค่าจาก table อื่น
 UPDATE table2 SET column =  (SELECT column FROM table2 WHERE condition)
 WEHRE condition

การใช้ Sub Query แบบ Join กันระหว่าง 2 Table
 SELECT t1.Column1, t1.Column2, 
       ColumnNew = (SELECT COUNT(t2.Column2) FROM table2 t2 WHERE t2.Colum1 = t1.Colum1)
  FROM table1 t1


ตัวอย่างการใช้ Sub Query ด้วยการ Join

Table : customer
1

Table : country
2

Table : audit
3








Ex1 : การใช้ Sub Query แบบหลาย ๆ ชั้น

4

Step 1 : เราจะลองมาหาค่า Budget ของแต่ล่ะ Country ว่ามีค่า MAX เป็นเท่าไหร่

SELECT CountryCode, MAX(Budget) AS Budget 
	FROM customer  GROUP BY CountryCode

ผลลัพธ์ที่ได้

5

Step 2 : นำ Query แรกไปใช้กับ Query ที่สอง

6

SELECT c1.CustomerID, c1.Name, c2.CountryCode, c2.Budget FROM customer c1
INNER JOIN 
	(SELECT CountryCode, MAX(Budget) AS Budget 
		    FROM customer  GROUP BY CountryCode) c2 ON  c1.CountryCode = c2.CountryCode 
			AND c1.Budget = c2.Budget

เมื่อนำ Query แรกไปใช้งานต่อ ด้วยการ Join กับ Customer

7

จะได้ค่าแต่ล่ะ CountryCode มี Customer ชื่ออะไร ที่มี Budget สูงสุด

นอกจากนี้เรายังสามารถนำ Query , Su Query ไป Join เป็น Sub Query ได้อีกหลายๆ ชั้น

8

เช่น

SELECT c3.CountryCode, c4.CountryName, c3.Budget
	FROM country c4
	INNER JOIN 
		(SELECT c1.CustomerID, c1.Name, c2.CountryCode, c2.Budget FROM customer c1
		INNER JOIN 
			(SELECT CountryCode, MAX(Budget) AS Budget 
				    FROM customer  GROUP BY CountryCode) c2 ON  c1.CountryCode = c2.CountryCode 
					AND c1.Budget = c2.Budget)	
					    c3 ON c4.CountryCode = c3.CountryCode;


9

ค่าที่ได้จากการ Join ด้วย Sub Query


Step 2 :การใช้ Sub Query ในรูปแบบอื่นๆ เช่นการหาค่า COUNT, MAX, MIN

10

จากข้อมูลนี้ เราจะมานับจำนวน Transaction ของแต่ล่ะ CustomerID

SELECT CustomerID, COUNT(AuditID) AS NumCount 
	FROM audit GROUP BY CustomerID

11

ผลลัพธ์ที่ได้

SELECT MAX(t1.NumCount) AS MaxAudit, MIN(NumCount) AS MinAudit FROM 
	(SELECT CustomerID, COUNT(AuditID) AS NumCount 
		FROM audit GROUP BY CustomerID) t1

12

การหา MAX, MIN จาก Sub Query








   
Share
Bookmark.   

  By : TC Admin
  Article : บทความเป็นการเขียนโดยสมาชิก หากมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งให้ทาง webmaster ทราบด้วยครับ
  Score Rating :
  Create Date : 2017-04-04
  Download : No files
Sponsored Links
ThaiCreate.Com Forum


Comunity Forum Free Web Script
Jobs Freelance Free Uploads
Free Web Hosting Free Tools

สอน PHP ผ่าน Youtube ฟรี
สอน Android การเขียนโปรแกรม Android
สอน Windows Phone การเขียนโปรแกรม Windows Phone 7 และ 8
สอน iOS การเขียนโปรแกรม iPhone, iPad
สอน Java การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน Java GUI การเขียนโปรแกรม ภาษา Java GUI
สอน JSP การเขียนโปรแกรม ภาษา Java
สอน jQuery การเขียนโปรแกรม ภาษา jQuery
สอน .Net การเขียนโปรแกรม ภาษา .Net
Free Tutorial
สอน Google Maps Api
สอน Windows Service
สอน Entity Framework
สอน Android
สอน Java เขียน Java
Java GUI Swing
สอน JSP (Web App)
iOS (iPhone,iPad)
Windows Phone
Windows Azure
Windows Store
Laravel Framework
Yii PHP Framework
สอน jQuery
สอน jQuery กับ Ajax
สอน PHP OOP (Vdo)
Ajax Tutorials
SQL Tutorials
สอน SQL (Part 2)
JavaScript Tutorial
Javascript Tips
VBScript Tutorial
VBScript Validation
Microsoft Access
MySQL Tutorials
-- Stored Procedure
MariaDB Database
SQL Server Tutorial
SQL Server 2005
SQL Server 2008
SQL Server 2012
-- Stored Procedure
Oracle Database
-- Stored Procedure
SVN (Subversion)
แนวทางการทำ SEO
ปรับแต่งเว็บให้โหลดเร็ว


Hit Link
   







Load balance : Server 03
ThaiCreate.Com Logo
© www.ThaiCreate.Com. 2003-2024 All Rights Reserved.
ไทยครีเอทบริการ จัดทำดูแลแก้ไข Web Application ทุกรูปแบบ (PHP, .Net Application, VB.Net, C#)
[Conditions Privacy Statement] ติดต่อโฆษณา 081-987-6107 อัตราราคา คลิกที่นี่